Page 9 - วารสารนนทรี ปีการศึกษา2561.pdf
P. 9

สารจากผู้อ�านวยการ




                               แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  (พ.ศ. 2560-2564) จัดท�าขึ้น
                           ในช่วงปฏิรูปประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงใกล้
                           ชิดกันมากขึ้น โดยน้อมน�าหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญาน�าทาง
                           ในการพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9–11 เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและ
                           ช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง เกิดภูมิคุ้มกัน และมีการบริหารจัดการ
                           ความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน ส�านักงาน
                           คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดท�าแผนฯดังกล่าว
                           บนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของ
                           การพัฒนาประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทย
                           ไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้นยังให้ความส�าคัญ
                           กับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค
                           และระดับประเทศ ในทุกขั้นตอนของแผนฯ อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อร่วมกัน
                           ก�าหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ รวมทั้งร่วมจัดท�ารายละเอียดยุทธศาสตร์
                           ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
                               จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 12 บนพื้นฐานของกรอบ
                           ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จึงน�ามาสู่วิสัยทัศน์ของโรงเรียนชุมแพศึกษายุคปัจจุบันคือ “ภายใน
                           ปี 2564 ชุมแพศึกษา เป็นโรงเรียนคุณภาพมาตรฐานสากล ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
                           พอเพียง” ด้วยเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาและกระบวนการจัดการ
                           เรียนรู้ตามมาตรฐานสากล โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เรียนมีคุณลักษณะ
                           ตามมาตรฐานสากลและมีคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูและบุคลากร
                           ทางการศึกษาเป็นครูมืออาชีพ มีระบบบริหารจัดการตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่ง สพฐ.
                           (OBECQA) มีสื่อนวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพและทันสมัย รวมไปถึง
                           มีภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
                               วารสารนนทรี โรงเรียนชุมแพศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2561  จึงเป็นเสมือนการรวบรวม
                           ภาพเชิงประจักษ์สะท้อนผลการด�าเนินงานในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา ที่ประสานสัมพันธ์
                           กันในสถานะโรงเรียนมาตรฐานสากล และสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ภายใต้กรอบ
                           ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน  และวิสัยทัศน์ของโรงเรียนชุมแพ
                           ศึกษาดังกล่าว




                                                                                       (นายวิไลศักดิ์ วรรณศรี)
                                                                                 ผู้อ�านวยการโรงเรียนชุมแพศึกษา





                                                             9
                                                 วารสารนนทรี           ร.ร.ชุมแพศึกษา
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14